ท้องนอกมดลูก คืออะไร ?

ปัจจัยเสี่ยงของการท้องนอกมดลูกมีอะไรบ้าง ?
ปัจจัยเสี่ยงของการท้องนอกมดลูก ได้แก่
1. การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน โดยเฉพาะจากเชื้อ Chlamydia trachomatis, และ Nesseria gonorrheae จะทำให้เกิดพังผืดบริเวณปีกมดลูก และรังไข่ ทำให้ท่อนำไข่คดงอ หรือตีบตันบางส่วน ทำให้ขัดขวางการเดินทางของตัวอ่อนที่จะไปฝังตัวที่โพรงมดลูก หรือทำให้การเดินทางช้าลง ทำให้ตัวอ่อนฝังตัวที่ปีกมดลูกก่อน
2. การผ่าตัดในอุ้งเชิงกราน โดยเฉพาะการผ่าตัดที่บริเวณท่อนำไข่ เช่น การผ่าต่อหมัน ทำให้เกิดพังผืดหรือท่อนำไข่ตีบตันบางส่วนเช่นกัน ส่วนการทำหมันแล้วก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะไม่เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก โอกาสตั้งครรภ์หลังทำหมันมีประมาน 3 ใน 1,000 คนที่ทำหมัน และเมื่อเกิดการตั้งครรภ์หลังทำหมัน มักจะเป็นการตั้งครรภ์นอกมดลูก
3. เคยท้องนอกมดลูกมาก่อน จะเพิ่มความสี่ยงที่เกิดซ้ำในครรภ์ต่อไปมากกว่าคนทั่วไป 7-13 เท่า
4. การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดที่มี ฮอร์โมนโปรเจสโตรเจนเพียงอย่างเดียว เช่น ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน อิทธิพลของฮอร์โมนจะทำให้การบีบตัวของท่อนำไข่ช้าลง ทำให้ตัวอ่อนเคลื่อนที่ได้ช้าลง
5. การใส่ห่วงอนามัย (Intrauterine device –IUD) สามารถป้องกันการฝังตัวของตัวอ่อนในโพรงมดลูกได้ แต่ไม่สามารถป้องกันการฝังตัวของตัวอ่อนที่ปีกมดลูก
6. การใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ เช่น การกระตุ้นการตกไข่ด้วยฮอร์โมน หรือการทำ กิฟท์ (GIFT,Gamete intrafallopian tube transfer)
7. สตรีตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก มีความเสี่ยงมากกว่าสตรีตั้งครรภ์อายุน้อย
8. สูบบุหรี่ สารพิษจากบุหรี่จะมีผลต่อการเคลื่อนไหวของปีกมดลูก และการโบกพัดของขนเล็กๆในท่อนำไข่

แพทย์วินิจฉัยการท้องนอกมดลูกได้อย่างไร?
แพทย์วินิจฉัยการท้องนอกมดลูกได้จาก
1. อาการเด่นชัดของการท้องมดลูก ประกอบด้วย อาการปวดท้องน้อย มักมีอาการปวดเด่นด้านใดด้านหนึ่งของท้องน้อย (ด้านที่เกิดท้องนอกมดลูก) มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด มักเป็นแบบกะปริดกะปรอย ไม่สัมพันธ์กับรอบประจำเดือน และมีประวัติขาดประจำเดือนนำมาก่อน หากมีครบทั้ง 3 อาการ ก็วินิจฉัยโรคได้ง่าย อย่างไรก็ตาม สตรีที่มีปัญหาท้องนอกมดลูก อาจมีอาการปวดท้องน้อยมากจนทำให้แพทย์วินิจฉัยไม่ได้ อาจคิดว่าเป็นอาการจากโรคอื่นแทน เช่น ผู้ป่วยมีอาการซีดแต่ประวัติเลือดออกทางช่องคลอดมีนิดเดียว (แพทย์จึงนึกถึงภาวะซีดทั่วไปแทน) หรือมีอาการปวดบริเวณท้องน้อยมากจนจะเป็นลมโดยไม่มีอาการอื่น อีก 2 อาการ หรือบางคนอาจมาด้วยอาการปวดไหล่เนื่องจากมีเลือดออกในช่องท้องแล้วไประคายเคืองที่กระบังลม ซึ่งบริเวณนี้จะมีเส้นประสาทไปเลี้ยงบริเวณไหล่ด้วย ทำให้เกิดอาการปวดไหล่ได้ (Refer pain) ดังนั้นแพทย์ทุกคนจะต้องคิดถึงภาวะนี้ไว้เสมอหากสตรีในวัยเจริญพันธุ์ โดยเฉพาะมีอาการปวดท้องน้อย และมีเลือดออกกระปริบกระปรอยทางช่องคลอด
2. อาการแสดง (อาการที่แพทย์สามารถตรวจพบได้) เมื่อตรวจร่างกายผู้ป่วยมักไม่มีไข้ ในรายที่มีการเสียเลือดไม่มากนัก สัญญาณชีพ (ชีพจร ความดันโลหิต และอัตราการหายใจ) มักไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่หากมีการเสียเลือดภายในช่องท้องมาก ความดันโลหิตจะต่ำ ชีพจรจะเต้นเร็ว เป็นสัญญาณบอกเหตุว่ากำลังจะช็อก เมื่อตรวจเปลือกตา จะเห็นตาขาวซีด เมื่อสังเกตจะเห็นท้องบวมโตขึ้นซึ่งเมื่อตรวจจะพบว่ามีของเหลวในท้อง (Fluid thrill positive) หากกดบริเวณท้องน้อย(ขึ้นกับว่าพยาธิสภาพอยู่ข้างซ้ายหรือขวา) ผู้ป่วยจะปวดและเกร็ง (Guarding and rebound tenderness) หากมีเลือดในช่องท้องมาก ผู้ป่วยจะปวดและเกร็งไปทั่วๆช่องท้อง
3. การตรวจภายใน เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญ จะตรวจพบเลือดออกเล็กน้อยในช่องคลอด ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บในอุ้งเชิงการเมื่อโยกปากมดลูกไปมา เมื่อแพทย์กดบริเวณปีกมดลูกจะปวดมากในด้านที่มีท้องนอกมดลูก อาจคลำโดนก้อนเนื้อบริเวณปีกมดลูกข้างที่เกิดท้องนอกมดลูก
4. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
4.1 การตรวจความเข้มข้นของเลือด/การตรวจซีบีซี ( Complete blood count-CBC) จะพบว่ามีโลหิตจาง
4.2 การตรวจการตั้งครรภ์ในปัสสาวะ (Urine pregnancy test) เป็นสิ่งจำเป็น ทำได้ง่าย ราคาถูกช่วยในการวินิจฉัยได้เร็ว ปัจจุบันมีแถบตรวจการตั้งครรภ์ที่มีประสิทธิภาพหรือความไวดีมาก (ให้ผลถูกต้องประมาณ 99. 9%) ซึ่งมีขายทั่วไปตามร้านขายยาหรือร้านสะดวกซื้อต่างๆ แม้ว่าตั้งครรภ์อ่อนๆและมีระดับฮอร์โมนการตั้งครรภ์ ต่ำ ยังสามารถตรวจพบได้
4.3 การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตราซาวด์) โดยเฉพาะการตรวจคลื่นเสี่ยงความถี่สูงผ่านทางช่องคลอด (Transvaginal ultrasound ) จะทำให้มองเห็นพยาธิสภาพในอุ้งเชิงกรานชัดเจนกว่าการตรวจคลื่นเสี่ยงความถี่สูงทางหน้าท้อง สิ่งที่ช่วยสนับสนุนว่ามีการท้องนอกมดลูกจริง ได้แก่ การมองไม่เห็นถุงการตั้งครรภ์โนโพรงมดลูกในระยะเวลาที่ควรจะมองเห็น การเห็นตัวทารกอยู่นอกโพรงมดลูก การเห็นของเหลวจำนวนมากในอุ้งเชิงกราน และการพบก้อนที่ปีกมดลูก
4.4 การตรวจระดับ ฮอร์โมน Beta hCG ในเลือด วิธีนี้ไม่ได้ใช้ตรวจในผู้ป่วยทุกราย จะใช้ตรวจในรายที่สงสัยว่าเป็นการตั้งครรภ์ในโพรงมดลูก หรือตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือในรายมีอาการน้อยมากแทบไม่มีอาการปวดท้อง มีประวัติประจำเดือนแทบเป็นปกติ เพราะการตรวจเลือดนี้ค่าใช้จ่ายสูงกว่าการตรวจปัสสาวะ ต้องใช้เวลาในการตรวจ และผู้ป่วยเจ็บตัว ในรายที่จะแยกว่า ตั้งครรภ์ปกติหรือไม่และอายุครรภ์ยังอ่อนมากที่อาจยังมองไม่เห็นจากเครื่องตรวจเสียงความถี่สูง จะมีการเจาะเลือด ครั้งแรกเพื่อดูระดับฮอร์โมนนี้ก่อน และเจาะเลือดตรวจอีกครั้งในอีก 2 วันถัดมา หากระดับฮอร์โมนนี้เพิ่มขึ้นมากกว่าครั้งแรก 66% ถือว่าเป็นการตั้งครรภ์ปกติให้รอสังเกตอาการต่อไป แต่หากเพิ่มขึ้นไม่ถึง 66% ถือว่าเป็นการตั้งครรภ์ผิดปกติ อาจเป็นการแท้ง หรืการตั้งครรภ์นอกมดลูกก็ได้ แต่หากตรวจระดับฮอร์โมนครั้งแรกแล้วระดับสูงกว่า 1,500 mIU/ml (หน่วยการวัดสารตัวนี้) ประกอบกับการตรวจคลื่นเสี่ยงความถี่สูงทางช่องคลอด ไม่พบถุงการตั้งครรภ์สามารถบอกได้เลยว่า เป็นการตั้งครรภ์นอกมดลูกต้องให้การรักษาต่อไป หากใช้การตรวจคลื่นเสี่ยงความถี่สูงทางหน้าท้อง (Trans abdominal ultrasound) ใช้เกณฑ์ระดับฮอร์โมนนี้สูงกว่า 6,500 mIU/ml ต้องพบถุงการตั้งครรภ์แล้ว หากไม่พบก็ให้คิดถึงการตั้งครรภ์นอกมดลูก
4.5 การส่องกล้องวินิจฉัยทางหน้าท้อง (Diagnostic laparoscopy ) ใช้ในกรณีที่มีอาการไม่ชัดเจน ต้องดมยาสลบแล้วส่องกล้องเข้าไปดูภายในช่องท้องโดยตรงว่า มีการตั้งครรภ์ที่ปีกมดลูกจริงหรือไม่ แต่เป็นวิธีที่ผู้ป่วยต้องเจ็บตัว

ควรไปพบแพทย์เมื่อใด?
การรักษาการท้องนอกมดลูก มีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค หรือการเสียเลือดจากการแตกของท่อนำไข่ วิธีการรักษามีดังนี้
1. การคอยสังเกตอาการเพียงอย่างเดียว แพทย์จะเลือกใช้วิธีนี้ ในกรณีที่ผู้ป่วย มีอาการผิดปกติน้อยมาก อาการปวดท้องมีไม่มาก หรือไม่ปวดท้อง ไม่มีเลือดออกในช่องท้อง ไม่มีการแตกของท่อนำไข่ มักเป็นการตั้งครรภ์นอกมดลูกแล้วเกิดการแท้งหรือหลุดเข้าไปในช่องท้อง
2. การรักษาด้วยยา Methotrexate ปัจจุบันนิยมรักษาด้วยยาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สามารถใช้ได้ในกรณีที่ผู้ป่วยยังไม่มีการเเตกของท่อนำไข่ หรือแตกเล็กน้อยและเลือดออกเล็กน้อยหรือหยุดไปแล้ว มีอาการไม่มาก ปวดท้องเล็กน้อยหรือไม่ปวดเลยสัญญาณชีพคงที่ ขนาดของตัวก้อนท้องนอกมดลูกมีขนาดเล็กกว่า 4 เซนติเมตร ระดับฮอร์โมน Beta hCG ในเลือด น้อยกว่า 3,000 – 5,000 mIU/L วิธีการให้ยา สามารถฉีดเข้ากล้ามเนื้อได้เลย มี 2 วิธี คือ ฉีดแบบครั้งเดียว หรือ หลายครั้ง ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย สะดวกมาก นอกจากนั้นสามารถวิธีฉีดยาเข้าไปที่ตัวทารกโดยตรงผ่านกล้องส่องตรวจทางหน้าท้องแล้วฉีดยาที่บริเวณท่อนำไข่โดยตรง ข้อดีของการใช้ยาแบบฉีดเข้ากล้าม คือ ผู้ป่วยไม่ต้องถูกผ่าตัด สามารถเก็บท่อนำไข่ไว้เพื่อการตั้งครรภ์ในอนาคตได้ แต่ข้อด้อยคือ ไม่สามารถรักษาได้ในผู้ป่วยทุกราย ไม่สามารถทำในผู้ป่วยที่มีอาการมาก มีสัญญาณชีพไม่คงที่ ระดับฮอร์โมน Beta hCG ในเลือด มากกว่า 15,000 mIU/L ตรวจพบหัวใจทารกเต้นแล้ว นอกจากนั้นการรักษาวิธีนี้สามารถทำได้เฉพาะในโรงพยาบาลที่สามารถตรวจระดับฮอร์โมน Beta hCG ในเลือดได้ เพื่อใช้ติดตามระดับฮอร์โมนว่าลดลงหรือไม่ ซึ่งเป็นตัวแสดงว่ามีการตอบสนองต่อการรักษาดีหรือไม่ ผู้ป่วยต้องเสียเวลามาตรวจเลือดทุกสัปดาห์ว่าปกติหรือยัง โดยทั่วไปต้องใช้เวลาติดตามนาน 7-8 สัปดาห์ นอกจากนั้นผู้ป่วยบางรายยังต้องถูกผ่าตัดอีก หากผลการรักษาด้วยยาไม่ดีขึ้น
3. การรักษาโดยการผ่าตัด สามารถทำผ่าตัดได้ทั้งแบบเปิดหน้าท้อง หรือ ผ่าตัดแบบส่องกล้องผ่านหน้าท้องซึ่งเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตาม การรักษาขึ้นกับอาการหนักเบาของผู้ป่วย ความชำนาญของแพทย์ ความพร้อมของอุปกรณ์ วิธีการผ่าตัดขึ้นกับอายุ ความต้องการมีบุตร ความรุนแรงของโรค ซึ่งวิธีการผ่าตัดมีดังนี้
3.1. การตัดปีกมดลูก (ท่อนำไข่และเนื้อเยื่อรอบๆท่อนำไข่) ด้านตั้งครรภ์ออกทั้งหมด (Salpingectomy)
3.2. การตัดปีกมดลูกด้านตั้งครรภ์ออกบางส่วน ( Partial salpingectomy)
3.3. การผ่าตัดเฉพาะที่ปีกมดลูกแล้วดูดเอาส่วนที่ตั้งครรภ์ออก ( Salpingotomy or Salpingostomy)


ภาวะแทรกซ้อนของการท้องนอกมดลูกมีอะไรบ้าง?
ภาวะแทรกซ้อน/ผลข้างเคียงของการท้องนอกมดลูก ที่พบได้ เช่น
1. ภาวะแทรกซ้อนในระยะเฉียบพลัน คือ การเสียเลือดมาก อาจถึงกับเสียชีวิตได้
2. ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว ได้แก่
a. การมีภาวะท้องนอกมดลูกซ้ำในครรภ์ต่อไป มีโอกาสเป็นมากกว่าคนทั่วไป 7-13 เท่า
b. หากต้องผ่าตัดปีกมดลูก อาจเกิดพังผืด ท่อรังไข่ ตีบตัน ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากตามมาได้
c. มีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง
มีโอกาสตั้งครรภ์ปกติไหมในครั้งต่อไป?
แม้เกิดท้องนอกมดลูกไปแล้ว สตรีที่ยังมีท่อนำไข่ปกติอีกหนึ่งข้าง หรือ ทั้ง 2 ข้าง ยังสามารถตั้งครรภ์ตามปกติได้ ยกเว้นสตรีที่โชคร้าย เกิดท้องนอกมดลูกไป 2 ครั้ง และถูกตัดท่อนำไข่ไปทั้ง 2 ข้าง จะไม่สามารถมีลูกเองโดยวิธีธรรมชาติได้ ต้องทำเด็กหลอดแก้ว
มีโอกาสตั้งครรภ์นอกมดลูกกี่เปอร์เซ็นต์เมื่อตั้งครรภ์ครั้งต่อไป?
หากเคยท้องนอกมดลูกในครรภ์ที่แล้ว มีโอการเกิดท้องนอกมดลูกซ้ำในครรภ์ต่อไปได้ประมาณ 10-15% สามารถเกิดได้ทั้งที่ท่อนำไข่ด้านเดิมที่เคยเกิดปัญหา แต่ไม่ได้ตัดท่อนำไข่ แต่ใช้รักษาด้วยวิธี Salpingostomy หรือ Salpingotomy หรือให้ยา Methotrexate หรืออาจเกิดท้องนอกมดลูกที่ท่อนำไข่อีกข้างซึ่งอาจมีสภาพไม่สมบูรณ์ได้
ดังนั้นในการดูแลสตรีที่เคยท้องนอกมดลูก แพทย์จะเน้นให้สังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเอง หากประจำเดือนขาด ต้องรีบตรวจว่าตั้งครรภ์จริงหรือไม่และเป็นการตั้งครรภ์ปกติในโพรงมดลูก หรือเป็นการตั้งครรภ์นอกมดลูกซ้ำอีก
การป้องกันการท้องนอกมดลูกทำได้อย่างไรบ้าง?
สามารถป้องกันท้องนอกมดลูกได้โดย
1. มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ใช้ถุงยางอนามัยชายเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์)
2. หากมีการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ควรไปพบแพทย์และรักษาโรคให้หายขาด การซื้อยารับประทานเอง บ่อยครั้งไม่เพียงพอ เพราะอาจเกิดเป็นการติดเชื้อเรื้อรัง และทำให้เกิดพังผืดมากมายในอุ้งเชิงกราน
3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง
4. ควรงดดื่มเหล้า หรือสูบบุหรี่
สมุนไพรดูแลสุภาพสตรี
รากสามสิบคุณสัมฤทธิ์สมุนไพร มีส่วนผสมของสมุนไพรที่ช่วยจัดการปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ วัยทอง ปัญหาปวดท้องประจำเดือนอย่างได้ผล ทานต่อเนื่องเพื่อบำรุงสุขภาพไม่ให้ต้องเจอกับปัญหามาไม่ปกติ หรือประจำเดือนมีสีผิดปกติซ้ำๆอีกให้คุณสุขภาพดีจนสังเกตเห็นได้ ตั้งแต่เริ่มรับประทาน
