สำหรับบางคน การเกิดอาการปวด ประจำเดือน อาจเป็นสิ่งที่ทำให้เจ็บปวดอย่างมากในรอบเดือนนั้น ๆ แต่สามารถรักษาอาการปวดเกร็งต่าง ๆ นี้ได้
โดยอาการปวด ประจำเดือน มีชื่อเรียกในทางการแพทย์ว่า Dysmenorrhea ซึ่งเป็นกลุ่มอาการปวดเกร็งหรือปวดเกร็งที่บริเวณท้องน้อย ซึ่งเกิดขึ้นมาก่อนที่จะเป็น ประจำเดือน หรือในช่วงระหว่างการเป็นประจำเดือน ความรุนแรงของอาการดังกล่าวสามารถเริ่มต้นจากระดับอ่อน ๆ ไปจนถึงระดับที่ไม่สามารถต้านทานได้ ซึ่งรวมไปถึงอาการปวดท้องน้อย ความรู้สึกไม่สบายตัว ไม่สบายใจ โดยอาการปวดที่รุนแรงนั้นจะให้ความรู้สึกเหมือนกับเรายกของที่มีน้ำหนักมาก และอาการปวดประจำเดือนอาจจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน และอาการท้องเสีย
จำนวนผู้หญิงมากกว่าครึ่งหนึ่งของคนที่เป็นประจำเดือนจะมีอาการปวดเกร็งอยู่ประมาณ 1-2 วันของแต่ละเดือน และอีก 15% ของผู้หญิงเหล่านั้นจะมีอาการปวด ประจำเดือน ที่รุนแรง แต่มีอีกหลายวิธีที่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดเหล่านี้ให้หายไปได้
อาการปวดประจำเดือน เป็นอย่างไรบ้าง?
อาการปวดประจำเดือนเป็นอาการที่เกิดจากการหดรัดตัวหรือการเกร็งของกล้ามเนื้อมดลูกที่นำไปเลี้ยงยังส่วนต่างๆบริเวณรอบ ๆ เยื่อบุมดลูก และเมื่อเยื่อบุมดลูกหลุดลอกและไหลออกมาในแต่ละเดือนนั้น จะทำให้สารที่คล้ายกับฮอร์โมนที่มีชื่อว่า “โปรสตาแกรนดิน” ถูกหลั่งออกมาและทำให้เกิดอาการปวดหรืออาการอักเสบ โดยนอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มความรุนแรงของการหดรัดตัวได้ถ้าหากการหลั่งสารชนิดนี้มีปริมาณที่สูงขึ้น
สำหรับผู้หญิงที่มีการหลั่งของสารโปรสตาแกรนดินสูง จะทำให้เกิดอาการปวดประจำเดือนที่ค่อนข้างรุนแรงกว่าคนปกติ และเมื่อเยื่อบุมดลูกหลุดลอกออกมา อาการหดรัดตัวจะค่อย ๆ ผลักเนื้อเยื่อเก่าผ่านทางปากมดลูกและขับออกไปยังช่องคลอด แต่ถ้าขนาดของปากมดลูกแคบเกินไป จะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรงได้ โดยเฉพาะเมื่อลิ่มเลือดหรือเนื้อเยื่อที่หลุดออกมาผ่านปากมดลูก ซึ่งอาการปวดประจำเดือนจะเริ่มต้นก่อนการมีประจำเดือนและขึ้นสู่จุดสูงสุดภายใน 24 ชม. ผู้หญิงเริ่มมีอาการดีขึ้นใน 1-2 วัน แต่ในผู้หญิงบางคนอาจจะมีอาการเกร็งท้องน้อยตลอดช่วงของการมีประจำเดือนเลยก็ได้

ใครมีความเสี่ยงปวดประจำเดือนได้บ้าง ?
อาการปวดประจำเดือนอย่างรุนแรงสามารถพบได้บ่อยที่สุดในช่วงวัยรุ่นเริ่มตั้งแต่ 1-2 ปีหลังจากเด็กมีประจำเดือนเป็นครั้งแรก ซึ่งอาการปวดประจำเดือนจะขึ้นหรือทุเลาลงเมื่อผู้หญิงมีอายุมากขึ้น นอกจากนี้ผู้หญิงที่เคยมีลูกมาแล้วจะมีโอกาสเกิดอาการปวดประจำเดือนน้อยกว่าคนปกติเพราะการคลอดลูกจะช่วยทำให้มดลูกขยายตัว
ถึงแม้ว่าผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีความรู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวระหว่างการมีประจำเดือนอยู่บ้าง ซึ่งในบางอาการปวดนั้นอาจจะรุนแรงและส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันได้ เนื่องจากอาการปวดประจำเดือนอย่างรุนแรงที่เกิดจากการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกและการหลั่งสารโปรสแกรนดิน ซึ่งหลั่งในช่วงการมีประจำเดือนคืออาการปวดประจำเดือนขั้นปฐมภูมิ (Primary Dysmenorrhea) แต่หากอาการปวดประจำเดือนที่เกิดจากโรคหรือปัญหาทางการแพทย์ชนิดอื่น ๆ จะเรียกว่าอาการปวดประจำเดือนขั้นทุติยภูมิ (Secondary Dysmenorrhea)
สภาวะที่สามารถทำให้เกิดการปวดประจำเดือนชนิดทุติยภูมิมีดังนี้
- Endometriosis สภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
- Fribroids เนื้องอกในมดลูก เนื้องอกเหล่านี้ไม่เป็นเนื้อร้ายจึงไม่ก่อให้เกิดเซลล์มะเร็งในมดลูก
- การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน
อาการปวดท้องประจำเดือน บางคนอาจจะมีอาการปวดเพียงเล็กน้อยพอให้รู้สึกรำคาญ แต่บางคนก็อาจจะมีอาการปวดอย่างรุนแรง ซึ่งสร้างความเจ็บปวดให้กับผู้หญิงได้มาก แต่รู้ไหมว่าอาการปวดท้องประจำเดือนนั้นไม่ได้ธรรมดาอย่างที่คิด เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงโรคร้ายที่กำลังแอบแฝงอยู่ก็ได้ เพราะฉะนั้นเรามาทำความเข้าใจกับอาการปวดท้องประจำเดือนกันก่อนดีกว่า
สาเหตุของอาการปวดท้องประจำเดือน
อาการปวดท้องประจำเดือนเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ซึ่งก็มีทั้งสาเหตุที่ไม่เป็นอันตรายและสาเหตุที่เป็นอันตราย ดังนั้น เมื่อมีอาการปวดท้องในวันที่ประจำเดือนมาจึงไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะนั่นอาจเป็นเพราะสาเหตุของปัญหาสุขภาพดังต่อไปนี้
1. มดลูกหดตัวแรงกว่าปกติ
สารโปรสตาแกรนดินทำให้มดลูกหดตัว ก่อให้เกิดอาการปวดท้องเบาๆ แต่ถ้าหากสารนี้มีปริมาณมากกว่าปกติก็จะก่อให้เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรง และในบางรายก็อาจจะมีไข้ที่เรียกกันว่าไข้ทับระดู แต่ทั้งนี้อาการปวดท้องประจำเดือนจากกรณีนี้จะไม่เป็นอันตรายมากนัก เพียงแต่หากมีไข้สูงก็ควรรับประทานยาลดไข้และดูแลตนเองให้มากขึ้นเท่านั้น
2. มีโรคร้ายแอบแฝง
อาการปวดท้องประจำเดือน บางครั้งก็ไม่ใช่อาการปวดแบบธรรมดา แต่อาจเป็นอาการข้างเคียงจากภาวะแอบแฝง จำพวกโรคร้ายแรงต่าง ๆ เช่น ช็อกโกแลตชีส มะเร็งรังไข่ หรือการติดเชื้อต่าง ๆ ในช่องคลอด ซึ่งภาวะเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงมาก และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ตกขาวมีกลิ่นเหม็น เลือดประจำเดือนมีสีแปลกไปจากปกติ และมีอาการคัน เป็นต้น โดยหากมีอาการแบบนี้ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อการวินิจฉัยและรักษาได้ทันเวลา
อาการปวดท้อง ประจำเดือน
อาการปวดท้อง ประจำเดือน จะแบ่งออกเป็น 2 ระดับด้วยกัน เนื่องจากอาการปวดท้องในขณะมีรอบเดือนนั้นจะเกิดขึ้นได้จากสองสาเหตุหลัก ๆ คือการหดตัวของมดลูกแรงเกินไปและภาวะแอบแฝงจากโรคร้าย ซึ่งมีอาการดังนี้
1. ปวดท้อง ประจำเดือน จากการหดตัวของมดลูก
- ปวดบริเวณท้องน้อย แต่อาการปวดจะไม่รุนแรงมากนัก และอาจมีอาการปวดร้าวไปบริเวณหลังร่วมด้วย
- รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า โดยเฉพาะคนที่ประจำเดือนมามาก
- มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
2. ปวดท้อง ประจำเดือน จากภาวะแอบแฝง
- ปวดท้องน้อยอย่างรุนแรง บางคนอาจมีอาการปวดจนถึงขั้นลุกเดินแทบไม่ไหวเลยก็มี
- มีไข้ ซึ่งอาจเป็นภาวะไข้ทับระดูได้
- ปวดศีรษะอย่างรุนแรง และมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
- มีอาการคันบริเวณปากช่องคลอด ซึ่งอาจเป็นเพราะการติดเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ
- เลือดประจำเดือนเป็นสีแดงสด
การวินิจฉัยโรค
มีประวัติการปวดท้องโดยมีลักษณะ ตำแหน่ง ความรุนแรง ระยะเวลาของการปวด มีความสัมพันธ์กับประจำเดือน ตรวจภายใน และตรวจ Bimanual examination ตรวจเลือดเพื่อดูจำนวนเม็ดเลือด (Complete blood count; CBC), Hct, ตรวจปัสสาวะและอุจจาระ ตรวจการตั้งครรภ์ อัลตราซาวนด์ และส่องกล้องทางหน้าท้องเพื่อวินิจฉัยแยกโรค
ทางเลือกในการรักษาสำหรับอาการปวดประจำเดือน
ยาที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช้สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น Advil หรือ Motrin (Ibuprofen) และ Aleve (Naproxen) ที่มักจะใช้ได้ผลในการบรรเทาอาการปวดประจำเดือน เพราะว่ายาเหล่านี้สามารถยับยั้งการสร้างสารโปรสตาแกรนดินซึ่งเคล็ดลับก็คือการรับประทานยาแก้ปวดเมื่อเริ่มมีอาการปวดหรือก่อนการมีอาการปวด
ยาที่จ่ายตามใบสั่งแพทย์ หากยาชนิด NSAIDs ที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปนั้นไม่สามารถทำให้หายได้ แพทย์จะจ่ายยาบรรเทาอาการปวดที่แรงขึ้นกว่าเดิม โดยยาระงับอาการปวด ได้แก่ Acetaminophen ผสม Hydrocodone (Vicodin, Norco) เป็นทางเลือกสำหรับผู้หญิงที่มีอาการปวดประจำเดือนชนิดรุนแรงมาก ๆ
ยาคุมกำเนิด คือฮอร์โมนคุมกำเนิด เช่น ยาคุมกำเนิด แผ่นแปะ และวงแหวนสอดช่องคลอด สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนชนิดที่มีความรุนแรง ใช้เพื่อหยุดการตกไข่ หากคุณไม่มีอาการตกไข่ โอกาสที่จะมีอาการปวดประจำเดือนก็จะน้อยลง เพราะฮอร์โมนคุมกำเนิดจะหยุดหรือชะลอการเกิดเนื้องอกในมดลูกและสภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
การผ่าตัด ถ้าเนื้องอกในมดลูกและสภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่เป็นสาเหตุที่ทำให้คุณเกิดอาการปวด คุณอาจจะพิจารณาการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวชหรือวิธีรังสีร่วมรักษา (การฉีดสารเข้าไปในเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงเนื้องอก ทำให้ก้อนเนื้องอกขาดเลือด ก้อนจึงเหี่ยวยุบลง) เพื่อตัดเนื้องอกที่ไม่จำเป็นออก หรือการตัดมดลูก วิธีนี้จะตัดมดลูกออกทั้งหมด และใช้เป็นวิธีรักษาแนวทางสุดท้ายสำหรับอาการปวดและสำหรับผู้หญิงที่ไม่ต้องการมีลูก
วิธีบรรเทาอาการปวดประจำเดือนอย่างได้ผล
เมื่อมีอาการปวดท้องประจำเดือน ไม่ว่าจะปวดมากหรือปวดน้อย ก็มักจะสร้างความเจ็บปวดทรมานให้กับผู้หญิงเป็นอย่างมาก แต่ครั้นจะรอให้อาการปวดหายไปพร้อมกับวันหมดประจำเดือนก็คงจะไม่ค่อยโอเคสักเท่าไร เพราะฉะนั้นเรามาบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนด้วยเคล็ดลับเหล่านี้กันดีกว่า
1.รับประทานยารากสามสิบสมุนไพรคุณสัมฤทธิ์
สำหรับวิธีนี้แนะนำให้ใช้ เพราะเป็นตัวยาที่สกัดจากสมุนไพรธรรมจาติ 100% ไม่เป็นอัตารายต่อร่างกายหรือส่งผลข้างเคียงในด้านอื่น ๆ ซึิ้ง รากสามสิบมีสรรพคุณที่หลากหลาย ในตำรายาไทยใช้เป็นยาแก้กระษัย ใช้รากต้มดื่มเพื่อแก้อาหารไม่ย่อย รักษาแผลในกระเพาะ ช่วยขับปัสสาวะและช่วยระบาย รากสามสิบมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา นอกจากนี้ยังสามารถต้มกับน้ำดื่มเป็นยาลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยเข้าไปกระตุ้นการทำงานของตับอ่อนให้หลั่งสารอินซูลิน มีการทดลองให้คนรับปะทานผงรากสามสิบแห้ง พบว่าสามารถช่วยรักษาแผลที่กระเพาะและลำไส้เล็กที่เกิดจากกรดเกินได้ รากสามสิบ บำรุงโลหิต แก้อาการปวดประจำเดือน มาไม่ปกติ ปวดท้องน้อย บำรุงสตรีหลังคลอดและยังช่วยบรรเทาอาการวัยทองในสตรี
2. ออกกำลังกายเบา ๆ
ในช่วงมีประจำเดือน หลายคนอาจเข้าใจว่าไม่ควรออกกำลังกาย แต่ความจริงแล้วการออกกำลังกายก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยอาจเลือกการออกกำลังกายเบา ๆ เช่น เดิน เล่นโยคะ เป็นต้น ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้เท่านั้น แต่ยังทำให้สุขภาพดี แข็งแรงตลอดรอบเดือน แต่แนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือกิจกรรมหนัก ๆ เพราะช่วงมีประจำเดือน ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีอาการอ่อนเพลีย จึงเสี่ยงต่อการเป็นลมได้
3. ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ
การดื่มน้ำมาก ๆ ในขณะมีประจำเดือน จะช่วยบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนได้อย่างดีเยี่ยม และเป็นวิธีที่เบสิกที่สุด เพราะเมื่อร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอ จะส่งผลให้ตับทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถควบคุมปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจนให้อยู่ในระดับปกติได้ จึงทำให้อาการปวดท้องทุเลาลง แต่จะต้องดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำอุณหภูมิห้องปกติเท่านั้น เพราะหากดื่มน้ำเย็นอาจส่งผลให้เลือดจับตัวกันเป็นลิ่มก้อนและขับออกมายาก ทั้งยังทำให้อาการปวดรุนแรงหนักขึ้นก็เป็นได้
4. ประคบด้วยกระเป๋าน้ำร้อน
ความร้อนมีคุณสมบัติในการทำให้กล้ามเนื้อที่ตึงผ่อนคลายลง ซึ่งจะส่งผลให้อาการปวดบรรเทาลง ดังนั้นแนะนำให้นำกระเป๋าน้ำร้อนมาประคบที่หน้าท้องเมื่อมีอาการปวด ประคบไปเรื่อย ๆ จะทำให้อาการปวดค่อย ๆ ทุเลาลง อาจไม่หายสนิทแต่ก็ดีขึ้นไม่น้อย ซึ่งในปัจจุบันการใช้กระเป๋าน้ำร้อนไม่ได้ยุ่งยากเหมือนในสมัยก่อนอีกต่อไป เพราะมีกระเป๋าน้ำร้อนไฟฟ้า แค่เพียงเสียบปลั๊กชาร์จไม่ถึง 5 นาทีก็สามารถนำมาใช้ได้เลย และยังหาซื้อได้ง่ายอีกด้วย
5. นอนตะแคง
การนอนตะแคงจะสามารถบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนได้ ส่วนจะตะแคงไปข้างไหนดีนั้นก็ขึ้นอยู่กับระดับมดลูกของแต่ละคนด้วย ดังนั้นหากมีอาการปวดท้องประจำเดือน แนะนำให้ลองนอนตะแคงไปด้านใดด้านหนึ่งดู เพื่อทดสอบว่านอนตะแคงด้านไหนแล้วทำให้อาการปวดท้องบรรเทาลง
สมุนไพรคุณสัมฤทธิ์


