ประจําเดือนไม่มา มาไม่ปกติ อาการคล้ายคนตั้งครรภ์ สาเหตุเกิดจากอะไร ?
ประจำเดือนไม่มา (Missed Period) หรือ มาไม่ปกติ ซึ่งเกิดขึ้นได้ 2 กรณี กรณีแรกเกิดขึ้นกับผู้ที่รอบเดือนครั้งแรกไม่มาเมื่ออายุถึงเกณฑ์ และอีกกรณีเกิดขึ้นกับผู้ที่เคยมีประจำเดือนแต่รอบเดือนขาดหรือไม่มาตามปกติ ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีประจำเดือนประมาณ 11-13 ครั้งต่อปี โดยรอบเดือนปกติจะประมาณ 28 วัน (อยู่ในช่วง 21- 35วัน) แต่ในบางครั้งประจำเดือนอาจไม่มาตามช่วงเวลาดังกล่าว คือเกิน 35 วัน ร่างกายจะใช้เวลานานหลายปีเพื่อปรับระดับฮอร์โมนที่ควบคุมการมีรอบเดือนให้สมดุล
อย่างไรก็ตาม อาการ ประจำเดือนไม่มา หรือมาไม่ปกติ มีสาเหตุหลายอย่าง ทั้งจากการทำงานของร่างกาย การใช้ชีวิตประจำวัน หรือระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุล ผู้ที่ประสบภาวะนี้ควรไปพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้ ประจำเดือนไม่มา หรือมาไม่ปกติ บางสาเหตุอาจต้องได้รับการรักษา ประจำเดือนถึงจะกลับมาตามปกติ

ลักษณะของอาการ ประจำเดือนไม่มา หรือมาไม่ปกติ มี 2 กรณี ได้แก่ ภาวะขาดประจำเดือน (ปฐมภูมิ) และภาวะขาดประจำเดือน (ทุติยภูมิ) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
- ภาวะขาดประจำเดือนปฐมภูมิ (Primary Amenorrhea) คือ ภาวะที่ไม่เคยมีประจำเดือนเมื่ออายุถึง 15 ปี วัยรุ่นผู้หญิงมักเริ่มมีรอบเดือนในช่วงอายุระหว่าง 9-18 ปี โดยทั่วไปแล้วมักเริ่มมีรอบเดือนเมื่ออายุ 12 ปี
- ภาวะขาดประจำเดือนทุติยภูมิ (Secondary Amenorrhea) คือภาวะที่ประจำเดือนขาดไปอย่างน้อย 3 เดือน ภาวะขาดประจำเดือนทุติยภูมิถือเป็นภาวะขาดประจำเดือนที่พบได้บ่อย
อย่างไรก็ตาม ภาวะขาดประจำเดือนปฐมภูมิและภาวะขาดประจำเดือนทุติยภูมิ สามารถรักษาให้หาย และกลับมามีประจำเดือนได้ตามปกติ

สาเหตุที่ ประจำเดือน ไม่มา หรือมาไม่ปกติ
การที่ ประจำเดือนไม่มา หรือมาไม่ปกติ มากระปิดกระปอย หลายคนอาจเป็นกังวล และคิดมาก จนทำให้เครียดได้ ซึ่งหากเราทราบสาเหตุว่าเกิดจากอะไรก็คงไม่ใช่ปัญหา แต่มันจะเป็นปัญหาแน่ ๆ ถ้าหาก ประจำเดือนไม่มา โดยไม่ทราบสาเหตุ ! คุณผู้หญิงอย่าชะล่าใจ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทราบสาเหตุและทำการรักษาให้ถูกจุดก่อนที่ร่างกายจะป่วยหรือมีบางสิ่งผิดปกติจนสายเกินแก้ ตัวอย่างสาเหตุหลักที่พบมากที่ทำให้ ประจำเดือนไม่มา หรือมาไม่ปกติ
สาเหตุที่พบได้ทั่วไป อาการ ประจำเดือนไม่มา อันเกิดจากสาเหตุที่พบได้ทั่วไป มีดังนี้
- การตั้งครรภ์ เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของการขาดประจำเดือน เมื่อประจำเดือนที่เคยมาปกติทุกเดือนกลับไม่มา ควรสันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น โดยเฉพาะหากเกิดขึ้นในสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ (ควรหาทางพิสูจน์ก่อนเสมอ ก่อนที่จะคิดถึงสาเหตุอื่น ๆ)
- ความเครียดทางด้านจิตใจ (Stress) อาจทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ ประจำเดือนอาจขาดหายไปได้คราวละหลาย ๆ เดือน เนื่องจากความเครียดนั้นมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของการหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญพันธุ์และการมีประจำเดือน (GnRH)
- โรควิตกกังวล (Anxiety disorders) โรคอารมณ์แปรปรวน (Mood disorders) ทำให้ประจำเดือนไม่มา ไม่มีความรู้สึกทางเพศ
- การใช้ยาฮอร์โมนคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานาน ๆ เช่น การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด การฉีดยาคุมกำเนิด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนขาดได้เป็นธรรมดา
- ระยะหลังคลอดบุตรหรือการให้นมบุตร จะเป็นหลังแท้งบุตรหรือหลังคลอดบุตรก็ตาม ถ้ายังมีน้ำนมอยู่ก็เป็นเรื่องปกติที่ประจำเดือนจะยังไม่มาจนกระทั่งหย่านม
- วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน (Menopausal syndrome)
สาเหตุที่พบได้ไม่บ่อย ผู้ป่วยหรือผู้ที่ประสบปัญหาสุขภาพบางอย่างอาจเกิดอาการประจำเดือนไม่มาร่วมด้วย โดยปัญหาสุขภาพเหล่านี้จัดเป็นสาเหตุของภาวะขาดประจำเดือนที่พบได้ไม่บ่อยนัก ได้แก่
- รังไข่เสื่อมก่อนกำหนด ภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนกำหนด (Premature Ovarian Failure) หรือรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด คือภาวะที่หมดรอบเดือนก่อนอายุครบ 40 ปี สาเหตุของภาวะนี้เกิดจากการผ่าตัดศัลยกรรม การทำเคมีบำบัด และการฉายรังสีบริเวณท้องหรืออุ้งเชิงกราน
- ท้องนอกมดลูก ภาวะนี้ถือเป็นภาวะที่พบได้ยาก และบางครั้งผลตรวจครรภ์อาจปรากฏออกมาเป็นลบ ผู้ที่ประจำเดือนไม่มาและผลตรวจครรภ์ออกมาเป็นลบ แต่เกิดปวดท้องน้อยอย่างรุนแรง มีเลือดออก เวียนศีรษะ คลื่นไส้ และอาเจียน ควรพบแพทย์ทันที
- ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคลำไส้แปรปรวน วัณโรค โรคตับ หรือเบาหวาน อาจประสบภาวะขาดประจำเดือนหรือประจำเดือนมาไม่ปกติได้ ส่วนในบางราย ที่อวัยวะเกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์เกิดความผิดปกติ ก็อาจทำให้ประจำเดือนไม่มาหรือมาช้า โดยความผิดปกตินี้อาจเกิดจากความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด เนื้องอก หรือการติดเชื้อที่มดลูก ทั้งนี้ อาการประจำเดือนไม่มาเป็นอาการหนึ่งของการเกิดภาวะพังผืดในโพรงมดลูก (Asherman Syndrome) ซึ่งเกิดจากการขูดมดลูก
- ป่วยเป็นโรคทางพันธุกรรม ผู้ที่ป่วยเป็นโรคทางพันธุกรรม เช่น กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (Turner Syndrome) อาจทำให้ประจำเดือนมาช้าได้บางครั้ง
อาการประจำเดือนไม่มา
- ภาวะประจำเดือนไม่เคยมา (ภาวะขาดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ) ผู้ปกครองควรสังเกตการมาของประจำเดือนของบุตรสาวด้วย ถ้าประจำเดือนครั้งแรกยังไม่มาทั้ง ๆ ที่เลยอายุที่ควรจะมีประจำเดือนแล้ว (อายุเลย 14 ปี) โดยทั่วไปมักจะไม่มีความผิดปกติอื่น ๆ นอกจากจะมีสาเหตุมาจากความผิดปกติที่เกี่ยวกับรังไข่หรือฮอร์โมน ซึ่งอาจทำให้ไม่มีการเจริญเติบโตทางเพศ เช่น หน้าอกแฟบเหมือนผู้ชาย ไม่มีขนรักแร้ หรือขนที่อวัยวะเพศ เป็นต้น
- ในรายที่เกิดจากเยื่อพรหมจารีไม่เปิด (Imperforate hymen) ผู้ป่วยมักจะมีเลือดประจำเดือนออกมาทุกเดือน แต่จะคั่งอยู่ในช่องคลอดเพราะเยื่อพรหมจารีปิดกั้นไว้ ผู้ป่วยอาจรู้สึกปวดท้องเป็นประจำทุกเดือน เดือนละ 3-5 วัน และอาการปวดจะมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ไม่มีประจำเดือนออกมาให้เห็น อาจมีอาการคัดตึงเต้านมร่วมด้วยในช่วงเวลาใกล้เคียงกับการมีอาการปวดท้องน้อย และอาจตรวจพบเยื่อพรหมจารีโป่งพองขึ้นเนื่องจากมีก้อนเลือดที่คั่งอยู่ในช่องคลอดคอยดันเยื่อนี้ให้โป่งออก
- ภาวะประจำเดือนขาด (ภาวะขาดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ) ผู้หญิงที่เคยมีประจำเดือนมาเป็นประจำทุกเดือน อยู่ ๆ ก็ไม่มีประจำเดือนมา ส่วนมากจะไม่มีความผิดปกติอื่น ๆ นอกจาก
- ในรายที่เกิดการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจทำให้มีอาการแพ้ท้อง
- ในรายที่เกิดจากโรคกังวลหรือซึมเศร้า ก็มักจะมีความวิตกกังวล นอนไม่หลับ เบื่อหน่าย ท้อแท้สิ้นหวัง
- ในรายที่เกิดจากเนื้องอกของรังไข่ เช่น ปวดศีรษะเรื้อรัง ตามืดมัวลงเรื่อย ๆ มีหนวดและขนขึ้นผิดธรรมชาติ น้ำนมออกผิดธรรมชาติ เป็นต้น
- ในรายที่เป็นโรคชีแฮน (Sheehan’s syndrome) อาจทำให้มีอาการอ่อนเพลีย เฉื่อยเนือย เต้านมแฟบ ขนรักแร้และขนที่อวัยวะเพศร่วง
- นอกจากนี้ อาจมีอาการแสดงต่าง ๆ ตามสาเหตุที่ตรวจพบ เช่น กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่ชนิดหลายถุง (PCOS), ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism), ภาวะไตวายเรื้อรัง, โรคคุชชิง (Cushing’s syndrome), ซีด เป็นต้น

การรักษาอาการ ประจำเดือน ไม่มา
วิธีรักษาอาการ ประจำเดือน ไม่มา ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะขาดประจำเดือน ผู้ที่ประจำเดือนไม่มาอันเนื่องมาจากปัญหาสุขภาพนั้น จะได้รับการรักษาที่แตกต่างกันไป ซึ่งมีรายละเอียดพอสังเขป ดังนี้
- ฮอร์โมนไม่สมดุล ผู้ที่ประสบภาวะขาดประจำเดือนจากปัญหาฮอร์โมนไม่สมดุลจะได้รับฮอร์โมนเสริมหรือฮอร์โมนสังเคราะห์ เพื่อปรับระดับฮอร์โมนให้เป็นปกติ
- ถุงน้ำรังไข่หลายใบ กรณีที่ผู้ป่วยเกิดภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ แพทย์อาจจ่ายยาคุมกำเนิดแบบเม็ด หรือยาที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพื่อช่วยรักษาอาการ
- รังไข่เสื่อมก่อนกำหนด ผู้ที่ประจำเดือนไม่มาจากสาเหตุนี้อาจได้รับการรักษาด้วยยาคุมกำเนิดแบบเม็ดหรือกลุ่มยาฮอร์โมนทดแทน (Hormone Replacement Therapy: HRT)
- ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ผู้ที่ประสบภาวะขาดประจำเดือนจากสาเหตุนี้ จะได้รับยาที่ช่วยหยุดการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ของต่อมไทรอยด์เพื่อรักษาอาการของโรค
*** หากท่านไม่อยากมีปัญหา สุขภาพดังกล่าว เราขอแนะนำ รากสามสิบสมุนไพรคุณสัมฤทธิ์ ราชินีแห่งสมุนไพรเพื่อผู้หญิงทุกคน
- ปวดท้องประจำเดือน ปวดท้องน้อย หรือประจำเดือน มาไม่ปกติ อาการปวดท้องประจำเดือน ปวดท้องน้อย เกิดจากการที่มดลูกหดรัดตัว ทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยงมดลูกชั่วคราวจึงเกิดอาการปวดขึ้น ส่วนอาการประจำเดือนมาไม่ปกติเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในร่างกายทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุล (และยังมีสาเหตุอื่นๆ) จึงส่งผลให้ประจำเดือนเคลื่อนหรือขาดชั่วคราว รากสามสิบ ซึ่งมีสรรพคุณคล้ายฮอร์โมนเพศเอสโตรเจนตามธรรมชาติจึงช่วยคลายกล้ามเนื้อมดลูกขณะมีรอบเดือน และสมุนไพรตังกุยจะเข้าไปบำรุงและปรับสมดุลฮอร์โมนทำให้อาการปวดท้อง หรือ ปวดท้องน้อยลดลง และทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ
ปัญหาวัยทอง วัยทองคือวัยที่หมดประจำเดือน ร่างกายจะมีการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน(ฮอร์โมนแห่งความสาว) น้อยลง ส่งผลให้เกิดภาวะต่างๆตามมา เช่น ร้อนวูบวาบ อารมณ์แปรปรวน ผิวหนังหย่อนยาน ความจำสั้น และกระดูกพรุน เป็นต้น รากสามสิบซึ่งมีสรรพคุณคล้ายฮอร์โมนเพศเอสโตรเจนตามธรรมชาติจะเข้าไปบำรุงและปรับสมดุลฮอร์โมนที่ขาด ช่วยคืนความสาวกลับมาอีกครั้งร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรงยิ่งขึ้น
ปัญหาภายในเสื่อมโทรม ถึงอายุยังไม่มากแต่สาวๆก็อาจเกิดภาวะภายในเสื่อมโทรมได้ เพราะร่างกายของเราทำงานทุกวัน เช่น ปัญหามดลูกหย่อน ท้องไม่ยุบหลังคลอด และอาจเจอปัญหาผายลมอันไม่พึงประสงค์ ปัญหาเหล่านี้สามารถบรรเทาและแก้ไขได้ เพียงเรามีฮอร์โมนเพศและร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงยิ่งขึ้น ซึ่งรากสามสิบและส่วนผสมของสมุนไพรในตำรับจะช่วยเข้าไปฟื้นฟูภายในให้คุณสมบูรณ์ในทุกส่วนของความเป็นหญิง
