ภูมิแพ้ (Allergies) คืออะไร?
ภูมิแพ้ เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันในร่ายกายตอบสนองต่อสารบางอย่าง ซึ่งเรียกว่า สารก่อภูมิแพ้ อย่างรุนแรง โดยสารก่อภูมิแพ้มักพบได้โดยทั่วไป เช่น ละอองเกสร รังแคของสัตว์ และพิษของผึ้ง ซึ่งในผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ ร่างกายจะทำการตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ว่าเป็นสารที่อันตรายต่อร่างกาย จึงทำให้ร่ายกายพยายามที่จะกำจัดสารเหล่านั้นออก และทำให้เกิดอาการแพ้ตามมา โดยอาการแพ้เหล่านั้นเป็นได้ตั้งแต่อาการแพ้เล็กน้อย อาการแพ้รุนแรง จนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิต

โรคภูมิแพ้มีกี่ชนิด?
อาการของโรคภูมิแพ้แบ่งออกเป็นหลายชนิด บางชนิดเป็นตามฤดูกาล บางชนิดอาจเกิดได้ตลอดปี ซึ่งสารก่อภูมิแพ้ที่พบได้บ่อย ประกอบไปด้วย
- ละอองเกสรดอกไม้
- ไรฝุ่น
- ขนสัตว์และรังแคของสัตว์
- แมลงสาป
- เชื้อรา
- อาหาร เช่น ไข่ ปลา นม ถั่ว ข้าวสาลี ถั่วเหลือง หอย
- เหล็กในหรือการกัดของแมลงบางชนิด เช่น ตัวต่อ ผึ้ง ยุง มดคันไฟ หมัด แมลงวัน ริ้นดำ
- ยา เช่น ยากลุ่ม เพนิซิลิน (Penicillin) หรือ แอสไพริน (Aspirin)
- ลาเทกซ์ (Latex)
- สารเคมีที่ใช้ในบ้าน เช่น ผงซักฟอก
- โลหะ เช่น นิกเกิล (Nickle) โคบอล์ต (Cobalt) โครเมียม (Chromium) และ สังกะสี (Zinc)
ชนิดของโรคภูมิแพ้
- โรคภูมิแพ้ที่เกิดกับทางเดินหายใจ ได้แก่ โรคหืด
- โรคภูมิแพ้ที่ทำให้โพรงจมูกอักเสบหรือ โรคแพ้อากาศ
- โรคภูมิแพ้ที่เกิดกับทางผิวหนัง
- โรคภูมิแพ้ทางตา
- โรคภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหาร
- โรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรงที่มีอาการเกิดกับหลายระบบ


อาการภูมิแพ้มีอะไรบ้าง?
อาการแพ้อาหาร ประกอบไปด้วย
- รู้สึกชาในปาก
- ปากบวม ลิ้นบวม หน้าบวม คอบวม
- ผื่นลมพิษ
- ปวดท้อง
- อาการแพ้ชนิดรุนแรงซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต ที่เรียกว่า แอนาฟิแล็กซิส (Anaphylaxis)
อาการแพ้เหล็กในของแมลงอาจทำให้เกิด
- อาการบวมแดงเป็นบริเวณกว้างของบริเวณที่โดยต่อย
- หายใจเสียงวี้ด ไอ แน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม
- คัน ผื่นลมพิษ ทั่วร่างกาย
- อาการแพ้ชนิดรุนแรงซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต ที่เรียกว่า แอนาฟิแล็กซิส (Anaphylaxis)

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิแพ้
ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิแพ้จะเพิ่มมากขึ้นถ้าหากคุณ…
- มีโรคประจำตัวเป็นโรคหอบหืด
- มีคนในครอบครัวเป็นโรคหอบหืดหรือโรคภูมิแพ้
- อายุน้อยกว่า 18 ปี
ในบางครั้งพบว่าโรคภูมิแพ้ในเด็กสามารถดีขึ้นหรือหายได้เมื่อเด็กมีอายุมากขึ้น หรือ อาการแพ้อาจจะหายไปได้เองและสามารถกลับมาเป็นใหม่ได้ในอีกไม่กี่ปีถัดมา
การป้องกันการเกิดอาการแพ้
วิธีการป้องกันการเกิดอาการแพ้หรือจำกัดความรุนแรงของอาการแพ้ ทำได้โดยปฏิบัติตามข้อ ดังต่อไปนี้
- หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ : ซึ่งอาจทำได้ยาก ขึ้นอยู่กับชนิดของสิ่งที่แพ้ เช่น หากแพ้รังแคของสัตว์ อาจทำได้โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ หากแพ้ละอองเกสรดอกไม้ อาจหลีกเลี่ยงโดยการอยู่ในตัวอาคาร ไม่ออกไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีละอองเกสรจำนวนมาก
- ทำสมุดบันทึก : เพื่อหาสาเหตุของอาการแพ้ หรือหาปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้อาการแพ้รุนแรงขึ้น โดยการจดบันทึกเกี่ยวกับ สิ่งที่รับประทานหรือกิจกรรมที่ทำ
- ใส่สร้อยข้อมือหรือสร้อยคอที่ระบุว่าเป็นโรคภูมิแพ้ (medical bracelet or necklace) : เพื่อให้ผู้อื่นรู้ได้ว่าเป็นโรคภูมิแพ้ในกรณีที่ไม่สามารถสื่อสารได้ขณะเกิดอาการแพ้
ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการแพ้รุนแรง อาจจำเป็นต้องพกยาอิพิเนฟริน (Epinephrine) เพื่อใช้ในกรณีที่เกิดแอนาไฟแล็กซิส (Anaphylaxis) ควรปรึกษาแพทย์หากสงสัยว่าอาจมีความจำเป็นต้องได้รับยา

อาการแทรกซ้อนของโรคภูมิแพ้
ในผู้ป่วยที่มีอาการแพ้อย่างรุนแรงบางราย อาจเกิดอาการแพ้รุนแรงจนทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งอาการนี้เรียกว่า แอนาฟิแล็กซิส (Anaphylaxis) โดยอาการที่รุนแรงนี้มักเกิดจากโรคภูมิแพ้ซึ่งเกิดจาก อาหาร ยากลุ่มเพนิซิลิน (Penicillin) และ พิษของแมลง ซึ่งอาการของแอนาฟิแล็กซิส ประกอบไปด้วย
- ความดันต่ำ
- ไม่รู้สึกตัว
- หายใจหอบเหนื่อย
- ผื่นผิวหนัง
- ชีพจรเบาและเร็ว
- คลื่นไส้อาเจียน
- เวียนศีรษะ
- หายใจมีเสียงวี้ดรุนแรง
ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแทรกซ้อน ดังต่อไปนี้
- โรคหอบหืด (โรคทางทางเดินหายใจที่เกิดจากทางเดินหายใจอักเสบและตีบแคบ ทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอก หายใจเสียงวี้ด และหายใจลำบาก)
- ผื่นผิวหนังอักเสบ
- โรคติดเชื้อที่หูหรือที่ปอด
- ไซนัสอักเสบ
- ริดสีดวงจมูก
- อาการปวดหัวไมเกรน
ยาและการรักษาโรคภูมิแพ้
โรคภูมิแพ้เป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่การรักษาที่มีประสิทธิภาพสามารถบรรเทาอาการให้ผู้ป่วยได้ การรักษาโรคภูมิแพ้นั้นมีหลากหลายวิธี โดยขึ้นอยู่กับความรุนแรงและชนิดของโรคภูมิแพ้ที่ผู้ป่วยเป็น หากผู้ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ที่มีความรุนแรงจนทำให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุว่าผู้ป่วยแพ้สารชนิดใด เพื่อเข้าถึงตัวเลือกการรักษาที่ครบถ้วน แต่หากผู้ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ที่มีความรุนแรงน้อย หรือ เพียงแค่สร้างความรำคาญให้ตัวผู้ป่วยเอง ผู้ป่วยสามารถซื้อยาแผนปัจจุบันตามร้านขายยาทั่วไปได้ เภสัชกรสามารถช่วยแนะนำแบะเลือกยาที่ดีที่สุดตามอาการของผู้ป่วย
- ยาต้านฮิสตามีน (antihistamines) : ยาต้านฮิสตามีนออกฤทธิ์ผ่านกลไกการต้านฤทธิ์ของสารฮิสตามีน (สารเคมีในร่างกายซึ่งทำให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้) ในบางครั้งจึงมีการใช้ยาต้านฮิสตามีนร่วมกับยาชนิดอื่น
- ยาแก้คัดจมูก (decongestants) : ยาแก้คัดจมูกออกฤทธิ์โดยลดการบวมคั่งของเนื้อเยื่อและเส้นเลือดฝอยภายในจมูก โดยยาแก้คัดจมูกนี้มักให้ร่วมกับยาต้านฮิสตามีน
- ยาสเตียรอยด์ (Steroids) : ยาสเตียรอยด์สามารถช่วยลดการอักเสบและบวม
- ยารักษาโรคหอบหืด (asthma) : บางครั้งยาที่มักใช้รักษาโรคหอบหืด เช่น Leukotriene receptor antagonists (LTRAs) ยาขยายหลอดลม (Bronchodilators) และยาสเตียรอยด์บางชนิด ก็สามารถช่วยรักษาอาการของโรคภูมิแพ้ได้
ยาพลูคาว สมุนไพรตราคุณสัมฤทธิ์ ในพลูคาวมี สารประกอบ n-decyl-aldehyde, n-dodecyl aldehyde และ methyl-n-nonyl ketone ที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส influenza virus จึงช่วยสกัดกั้นให้โรคไม่ลุกลามจนทำลายระบบทางเดินหายและปอด จากการทดลองในหนูพบว่าสารสกัดน้ำจากพลูคาวมีฤทธิ์ลดอาการบวมน้ำ และยับยั้งอาการอักเสบในเยื่อหุ้มปอดของหนูได้
